วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรียนบรรณารักษณ์ จบไปทำอะไร?



librarian

- ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง
- หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น
- บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด
- อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น
- จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน



ที่มา: http://www.libraryhub.in.th/2009/12/26/my-inspiration-about-librarian-work/

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด


การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) สู่การประยุกต์ใช้ในห้องสมุด

ข้อที่ 1 เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
การสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการเมื่อแรกพบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยเบื้องต้นแล้วรอยยิ้มถือว่าสำคัญมากๆ เมื่อผู้ใช้เดินเข้ามาในห้องสมุดการทักทายผู้ใช้บริการ เช่น “สวัสดีครับ ห้องสมุดยินดีให้บริการ” “ห้องสมุดยินดีต้อนรับครับ” คำทักทายแบบเป็นกันเองจะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ไม่เครียดและสามารถพูดคุยและตอบคำถามได้ทุกเรื่อง ลองคิดนะครับ “ถ้าเราเป็นผู้ใช้บริการแล้วเดินเข้ามาที่ห้องสมุดเจอบรรณารักษ์ทำหน้ายักษ์ใส่เราจะกล้าถามอะไรมั้ย” เอาเป็นว่าการสร้างความประทับใจเบื้องต้นของผมที่จะแนะนำคือ “รอยยิ้ม” ครับ
ข้อที่ 2 สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
ผู้ใช้บริการบางท่านเมื่อเข้ามาที่ห้องสมุดเขาอาจจะต้องการความรู้หรือคำตอบอะไรสักอย่าง การทีบรรณารักษ์เป็นคนเปิดคำถามถามผู้ใช้บริการ ผมว่ามันก็สมควรนะครับ ผู้ใช้บริการบางท่านเป็นคนขี้อาย (ผมก็เป็นนะไม่กล้าเดินมาถามบรรณารักษ์) บรรณารักษ์ที่ต้อนรับจากข้อที่ 1 เมื่อยิ้มแล้วลองถามผู้ใช้บริการดูว่า “ต้องการมาค้นเรื่องอะไรครับ” “อยากทราบเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือปล่าว” ผู้ใช้ก็จะบอกความต้องการกับเราเอง อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ
ข้อที่ 3 นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
ถ้าผู้ใช้บริการถามถึงสิ่งที่ไม่มีในห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถหาข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการงานวิจัยจากต่างประเทศแล้วห้องสมุดของเราไม่มี และพอจะรู้ว่าในฐานข้อมูล สกอ. ก็สามารถแนะนำหรือแนะให้ไปค้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ได้ สรุปง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ห้ามตอบว่าไม่รู้หรือไม่ทราบเด็ดขาด แม้แต่เรื่องที่ไม่รู้จริงๆ ก็ต้องค้นคำตอบจากอินเทอร์เน็ตหรือบอกกับผู้ใช้ว่าจะหาคำตอบมาให้ในโอกาสหน้า
ข้อที่ 4 รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
ผู้ใช้บางท่านอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่าต้องการหนังสืออะไร เช่น พ่อแม่มือใหม่อาจต้องการคำแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูก บรรณารักษ์ควรจะรับฟังปัญหาและสามารถแนะนำหนังสือที่มีในห้องสมุด หรือแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมให้กับพ่อแม่มือใหม่เหล่านั้นได้ ข้อนี้ต้องบอกตรงๆ ครับว่า บรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ใช่แค่คนค้นหนังสือตามที่ผู้ใช้ต้องการแล้ว แต่ต้องสามารถเลือกหนังสือที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้
ข้อที่ 5 จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่
เมื่อทักทายแล้วก็ต้องมีการบอกลาประโยคบอกลาผู้ใช้บริการและเชิญชวนให้เขากลับมาใช้บริการใหม่ อาจจะเหมือนว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันเป็นการใส่ใจรายละเอียดที่ผู้ใช้บริการก็ต้องการเช่นกัน



ที่่มา : http://www.libraryhub.in.th/2012/11/24/5-step-good-service-from-apple-to-library/

เรียนบรรณารักษ์ จบไปทำอะไร ?




librarian


- ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง
- หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น
- บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด
- อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น
- จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน





ที่มา : http://www.libraryhub.in.th/2009/12/26/my-inspiration-about-librarian-work/